ภาพรวมการรับเข้าศึกษาต่อคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดรับสมัครบุคคลเพื่อสอบคัดเลือกเข้าศึกษาในคณะแพทยศาสตร์ ระดับปริญญาตรี ประจำปีการศึกษา 2568 โดยกำหนดรับสมัครแยกตามโครงการ ดังต่อไปนี้
- หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปกติ)
1.1 รอบแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) จำนวน 10 คน
1.2 รอบโควตา
1.2.1 โครงการรับนักเรียนจากโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จำนวน 4 คน
1.2.2 โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท จำนวน 105 คน
ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก รพ.สระบุรี จำนวน 30 คน
ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก รพ.สุราษฎร์ธานี จำนวน 30 คน
ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก รพ.ชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ จำนวน 15 คน
ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก รพ.พุทธโสธร จำนวน 30 คน
1.2.3 รอบ admission ผ่านระบบรับตรงของกสพท. จำนวน 70 คน
- หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรภาษาอังกฤษ) รับตรงร่วมกับวิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติจุฬาลงกรณ์ (CICM) จำนวน 31 คน
รายละเอียดโครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รับสมัครเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท จำนวน 105 คน โดยผู้ที่จะสมัครเข้าคัดเลือกเพื่อศึกษาต่อผ่านโครงการดังกล่าวจะต้องมีคุณสมบัติเฉพาะตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด ดังต่อไปนี้
- คุณสมบัติเฉพาะสำหรับผู้ศึกษาในคณะแพทยศาสตรบัณฑิต
1.1 ต้องมีคุณสมบัติที่จะปฏิบัติงานในส่วนราชการหรือหน่วยงานต่างๆ ของรัฐได้หลังจากจบการศึกษาแล้ว
1.2 ต้องมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง และปราศจากโรค อาการของโรค หรือความพิการอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
- คุณสมบัติเฉพาะสำหรับผู้สมัครเข้าคัดเลือกผ่านโครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท
- มีสัญชาติไทย อายุไม่เกิน 21 ปีบริบูรณ์ นับถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2568
- เป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และต้องศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายตลอดจนจบหลักสูตร รวมทั้งต้องมีภูมิลำเนาตามทะเบียนบ้านอยู่ในจังหวัดที่กำหนด
- ผู้สมัครและบิดาหรือมารดาหรือผู้ปกครองตามกฎหมาย ต้องมีภูมิลำเนาตามทะเบียนบ้านอยู่ในจังหวัดที่สมัครต่อเนื่องกันไม่น้อยกว่า 5 ปี นับถึงวันสุดท้ายของการรับสมัคร (หากบิดาหรือมารดาเป็นข้าราชการโยกย้ายออกจากพื้นที่ตามคำสั่งก่อนครบกำหนด 5 ปี ต้องแสดงเอกสารการโยกย้ายเพื่อขออนุโลม) โดยมีทะเบียนบ้านเป็นหลักฐานสำคัญตามพื้นที่จังหวัด ดังนี้
- พื้นที่ภาคกลาง (ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลสระบุรี) ได้แก่ สระบุรี, ลพบุรี, ลิงห์บุรี, ชัยนาท และอ่างทอง
- พื้นที่ภาคตะวันออก (ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลพุทธโสธร) ได้แก่ ฉะเชิงเทรา, ปราจีนบุรี และสระแก้ว
- พื้นที่ภาคใต้ (ศูนยแพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี และโรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์) ได้แก่ สุราษฎร์ธานี, ชุมพร และระนอง
- ผู้สมัครต้องเป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปีที่ 6 ของโรงเรียนตามกลุ่มจังหวัด ดังนี้
- กลุ่มที่ตั้งโรงเรียนในพื้นที่ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลสระบุรี ได้แก่ 25 จังหวัด ประกอบด้วย ชัยนาท, นครนายก, นครปฐม, นนทบุรี, ปทุมธานี, พระนครศรีอยุธยา, ลพบุรี, สระบุรี, สมุทรปราการ, สมุทรสงคราม, สมุทรสาคร, สิงห์บุรี, สุพรรณบุรี, อ่างทอง, กาญจนบุรี, ประจวบคีรีขันธ์, เพชรบุรี, ราชบุรี, จันทบุรี, ฉะเชิงเทรา, ชลบุรี, ตราด, ปราจีนบุรี, ระยอง และสระแก้ว
- กลุ่มที่ตั้งโรงเรียนในพื้นที่ศูนย์แพทยศาสตรบัณฑิตชั้นคลินิก โรงพยาบาลพุทธโสธร ได้แก่ 25 จังหวัด ประกอบด้วย ชัยนาท, นครนายก, นครปฐม, นนทบุรี, ปทุมธานี, พระนครศรีอยุธยา, ลพบุรี, สระบุรี, สมุทรปราการ, สมุทรสงคราม, สมุทรสาคร, สิงห์บุรี, สุพรรณบุรี, อ่างทอง, กาญจนบุรี, ประจวบคีรีขันธ์, เพชรบุรี, ราชบุรี, จันทบุรี, ฉะเชิงเทรา, ชลบุรี, ตราด, ปราจีนบุรี, ระยอง และสระแก้ว
- กลุ่มที่ตั้งโรงเรียนในพื้นที่ศูนย์แพทยศาสตรบัณฑิตชั้นคลินิก โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี ได้แก่ 14 จังหวัด ประกอบด้วย กระบี่, ชุมพร, ตรัง, นครศรีธรรมราช, พังงา, พัทลุง, ภูเก็ต, ระนอง, สตูล, สงขลา, สุราษฎร์ธานี, นราธิวาส, ยะลา และปัตตานี
- กลุ่มที่ตั้งโรงเรียนในพื้นที่ศูนย์แพทยศาสตรบัณฑิตชั้นคลินิก โรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ได้แก่ 14 จังหวัด ประกอบด้วย กระบี่, ชุมพร, ตรัง, นครศรีธรรมราช, พังงา, พัทลุง, ภูเก็ต, ระนอง, สตูล, สงขลา, สุราษฎร์ธานี, นราธิวาส, ยะลา และปัตตานี
-
รับเฉพาะนักเรียนสายสามัญเท่านั้น (ไม่รับผู้สอบเทียบชั้น หรือจากศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน)
-
มีใบระเบียนแสดงผลการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (รบ.1 หรือ ปพ.1) ของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ถึง ภาคแรกของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 รวม 5 ภาคการศึกษา และต้องศึกษาตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551: มาตรฐานการเรียนรู้ชั้น ม.4 - ม.6 ครบตามเกณฑ์ที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด
-
ไม่มีประวัติความประพฤติที่เสียหาย โดยให้โรงเรียนเป็นผู้รับรองความประพฤติ
-
เป็นผู้ที่มีคุณสมบัติอื่น ๆ ที่จะเป็นข้าราชการพลเรือนตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2535
-
เป็นผู้ที่แสดงออกถึงการมีเจตคติที่ดีและมีความพร้อมในการศึกษาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
-
เป็นผู้ที่แสดงออกถึงการมีเจตคติที่ดีต่อการศึกษาและปฏิบัติงานในโครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท
-
จำนวนทุนในแต่ละพื้นที่ตามโครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้แก่
- ภาคกลาง พื้นที่ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลสระบุรี ดังนี้
-
สระบุรี จำนวน 6 ทุน
-
ลพบุรี จำนวน 10 ทุน
-
สิงห์บุรี จำนวน 4 ทุน
-
ชัยนาท จำนวน 6 ทุน
-
อ่างทอง จำนวน 6 ทุน
- ภาคตะวันออก พื้นที่ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลพุทธโสธร ดังนี้
-
ฉะเชิงเทรา จำนวน 9 ทุน
-
ปราจีนบุรี จำนวน 9 ทุน
-
สระแก้ว จำนวน 10 ทุน
- ภาคใต้ พื้นที่ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี และโรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ดังนี้
เงื่อนไขการสมัคร
ผู้สมัครโครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบทแล้วไม่สามารถสมัครโครงการดังต่อไปนี้ได้อีก
- โครงการธรรมศาสตร์ช้างเผือก
- โครงการนักเรียนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
- โครงการส่งเสริมนักเรียนเรียนดีภาคกลาง
- โครงการรับนักเรียนผู้มีความสามารถดีเด่นด้านวิชาการ (สอวน. และ สสวท.)
- โครงการนักศึกษาผู้มีความสามารถดีเด่นในการกีฬา
- โครงการรับนักเรียนพลเมืองจิตอาสาเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- โครงการโควตาพื้นที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต
- โครงการรับนักเรียนจากโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
การรับสมัครและหลักฐานประกอบการสมัคร
สมัครผ่านระบบรับสมัครออนไลน์ ในวันที่ 3 – 18 มีนาคม พ.ศ. 2568 ที่ www.tuadmissions.in.th
- เปิดระบบรับสมัคร วันที่ 3 มีนาคม 2568 เวลา 00 น.
- ปิดระบบรับสมัคร วันที่ 18 มีนาคม 2568 เวลา 00 น.
- หลักฐานประกอบการสมัคร ให้อัปโหลดไฟล์ เอกสารการสมัคร ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ดังนี้
หน้าที่ 1 สำเนาใบระเบียนผลการเรียน (รบ.1 หรือ ปพ.1)
หน้าที่ 2 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้สมัคร
หน้าที่ 3 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของบิดาหรือมารดาหรือผู้ปกครองตามกฎหมาย
หน้าที่ 4 สำเนาทะเบียนบ้านของผู้สมัคร
หน้าที่ 5 สำเนาทะเบียนบ้านของบิดาหรือมารดาหรือผู้ปกครองตามกฎหมาย
หน้าที่ 6 สำเนาใบรับรองความประพฤติจากโรงเรียน
หน้าที่ 7 สำเนาใบรับรองการศึกษาดูงานจากโรงพยาบาล (ถ้ามี)
หน้าที่ 8 สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ-นามสกุลของผู้สมัคร (ถ้ามี)
หน้าที่ 9 สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ-นามสกุลของบิดาหรือมารดาหรือผู้ปกครองตามกฎหมาย (ถ้ามี)
*ชำระเงินค่าสมัคร ในวันที่ 3 – 19 มีนาคม 2568
วิธีการคัดเลือกและเกณฑ์การพิจารณาตัดสินผล
การประเมินขั้นที่ 1 สอบข้อเขียน (รวมเป็น 90%)
- มีผลคะแนนสอบ TPAT1 (คิดเป็น 30%)
- มีผลคะแนนสอบ A-Level (คิดเป็น 70%) ได้แก่
- วิทยาศาสตร์ (รวมฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา) คิดเป็น 50%
- คณิตศาสตร์ประยุกต์ 1 (รวมพื้นฐาน+เพิ่มเติม) คิดเป็น 15%
- ภาษาอังกฤษ คิดเป็น 20%
- ภาษาไทยและสังคมศึกษา คิดเป็น 15%
*ทุกวิชาต้องได้คะแนนไม่น้อยกว่า 30% ของคะแนนเต็ม
การประเมินขั้นที่ 2 สอบสัมภาษณ์และตรวจสุขภาพ
- สอบสัมภาษณ์ (รวมเป็น 10%)
- ตรวจร่างกายและสุขภาพ (พิจารณา: ได้ หรือ ตก)
- ตรวจสุขภาพจิต (พิจารณา: ได้ หรือ ตก)
- อื่นๆ ตามที่คณะกรรมการคัดเลือกฯ กำหนด (พิจารณา: ได้ หรือ ตก)
อ่านรายละเอียดฉบับเต็มได้ที่ กดที่นี่เพื่ออ่านประกาศรับสมัครฉบับเต็ม
สมัครเพื่อเข้ารับการคัดเลือกได้ที่ กดที่นี่เพื่อเข้าสู่ tuadmissions.in.th
ขอขอบคุณข้อมูลจาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
กองบรรณาธิการ
2024-11-25 | 19:07:22