CHANGE EDUCATION เป็นสถาบันพัฒนาทักษะทางวิชาการที่มุ่งมั่นพัฒนาการศึกษาเชิงบวกอย่างมีวิสัยทัศน์และยั่งยืน “It’s Time to Change | ถึงเวลาต้องเปลี่ยนแล้ว” เป็นคำขวัญสำคัญที่จะกระตุ้นให้เด็กไทยเปลี่ยนแปลงตนเองสู่การเป็นตัวเองในรูปแบบที่ดีขึ้นและมีภูมิคุ้มกัน เสริมสร้างทักษะใหม่ที่จำเป็นสำหรับการเรียนและการทำงานในอนาคต โดย CHANGE EDUCATION พร้อมเป็นพื้นที่ปลอดภัยให้เด็กไทยได้ปล่อยของ ผ่านอิสรภาพที่ได้มาตรฐาน กิจกรรมสร้างสรรค์-ทันสมัย เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน
CHANGE EDUCATION ก่อตั้งขึ้นในวันที่ 29 มีนาคม 2564 โดยมีนายทนงศักดิ์ เพ็ชรแก้ว ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เป็นผู้วางรากฐานให้กับสถาบันฯ ซึ่งทำให้สถาบันฯ มีจุดยืนที่เด่นชัดด้านวิชาการและยังคงมุ่งเน้นการเรียนรู้ด้วยวิธีการใหม่ตามหลักสากล พร้อมกระตุ้นให้ผู้เรียนได้ตระหนักรู้ และมีส่วนร่วมกับการขับเคลื่อนการแก้ปัญหาในสังคมไทยอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนด้วยนวัตกรรม ตลอดระยะเวลากว่า 4 ปีที่ผ่านมา (จนถึง 2568) CHANGE EDUCATION มีหลายบทบาทที่นักเรียน ครู อาจารย์ นักวิชาการ ตลอดไปจนถึงบุคคลทั่วไป จดจำสถาบันฯ แห่งนี้ในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปไม่ว่าจะเป็น “นักจัดกิจกรรมด้านวิชาการ”, “นักส่งเสริมการสร้างสรรค์นวัตกรรม” หรือแม้กระทั่ง “สื่อเพื่อการศึกษาและการพัฒนาทักษะทางวิชาการ” แต่ไม่ว่าทุกคนจะจดจำสถาบันฯ แห่งนี้ในรูปแบบใด บทความนี้จะนำทุกคนไปพบกับตัวตนและผลงานของ CHANGE EDUCATION ตลอดปี 2567 ถ้าพร้อมแล้วไปรู้จักสถาบันฯ แห่งนี้ให้มากขึ้นกัน....
CHANGE EDUCATION กับบทบาทผู้จัดกิจกรรมวิชาการ
CHANGE EDUCATION มุ่งเน้นการสร้างอิสรภาพทางการศึกษาที่ได้มาตรฐาน ด้วยกิจกรรมค่าย 16 กิจกรรม ซึ่งวนจัดกิจกรรมรวมกว่า 50 รอบในปีการศึกษา 2567 โดยการจัดกิจกรรมค่ายของ CHANGE EDUCATION จะเป็นการนำเนื้อหาเฉพาะทางที่เกี่ยวข้องกับคณะและสาขาต่างๆ มาให้ได้เรียนจริงเสมือนเป็นนักศึกษาในคณะและสาขาเหล่านั้น เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ที่เกี่ยวข้องกับคณะและสาขาต่างๆ อีกทั้งยังช่วยให้การค้นหาตัวเองเป็นเรื่องง่าย และเพื่อให้ตอบโจทย์อิสรภาพทางการศึกษาตามจุดมุ่งหมายของสถาบันฯ กิจกรรมในลักษณะค่ายจึงแบ่งออกเป็น 3 หมวดหมู่ ดังต่อไปนี้
นอกจากกิจกรรมค่าย CHANGE EDUCATION ยังมีการจัดกิจกรรมในรูปแบบคอร์ส ผ่านการเรียนรู้ด้วยวิดีโอบันทึกการสอน (VDO Learning) ที่จะมุ่งเน้นการพัฒนาทักษะทางวิชาการแบบเฉพาะทางในด้านใดด้านหนึ่ง อาทิเช่น Pre Engineering หลักสูตรเตรียมวิศวกรรม, Pre Medicine หลักสูตรเตรียมแพทย์, Basic Python Engineering Online Course หลักสูตรเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วยภาษาไพธอนสำหรับวิศวกร, Basic 3D Drawing Engineering หลักสูตรเขียนแบบด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับวิศวกร เป็นต้น
CHANGE EDUCATION กับบทบาทผู้จัดโครงการแข่งขันทักษะทางวิชาการ
CHANGE EDUCATION มุ่งสร้างบรรยากาศการเรียนรู้อย่างก้าวหน้า สร้างสรรค์ และทันสมัย โดยใช้การแข่งขันเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้เรียนกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้ สร้างสรรค์ และค้นคว้าสิ่งใหม่อันเป็นจุดเริ่มต้นของการขับเคลื่อนสังคมแห่งนวัตกรรมที่ยั่งยืน โดยในปีการศึกษา 2567 สถาบันฯ จัดโครงการแข่งขันทั้งสิ้น 4 โครงการ ประกอบด้วย
1. Change Innovation Awards โครงการแข่งขันแนวคิดนวัตกรรม
โครงการ Change Innovation Awards หรือ CIA ถือเป็นโครงการเรือธงของ CHANGE EDUCATION ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด โดยในปีการศึกษา 2567 มีผู้สมัครเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 325 ทีม จาก 298 โรงเรียนทั่วประเทศ รวมนักเรียนยอดนักคิดทั่วประเทศกว่า 2,600 คนเข้าร่วมโครงการเพื่อทำการแข่งขันใน 3 หัวข้อ ประกอบด้วย (1) แนวคิดนวัตกรรมด้านวิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยี และหุ่นยนต์, (2) แนวคิดนวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์ การแพทย์และระบบสาธารณสุข และ (3) แนวคิดนวัตกรรมด้านการเกษตร การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ปีการศึกษา 2567 เป็นปีแรกที่มีการจัดการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศในรูปแบบ Onsite ทำให้การแข่งขันในปีนี้คุกรุ่นไปด้วยความตื่นเต้นมากกว่าที่เคยเป็นและตื่นเต้นแบบทวีคูณเมื่อผู้สมัครที่ผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศต้องนำเสนอแนวคิดนวัตกรรมของตนเองผ่านจอ LED ขนาดยักษ์ 8x13.5 เมตร ต่อหน้าคณะกรรมการตัดสินผู้ทรงคุณาวุฒิ ได้แก่ ศ.นพ.อภิชาติ อัศวมงคลกุล คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล, รศ.ดร.สมยศ เกียรติวนิชวิไล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ซึ่งได้มอบหมายให้ ดร.บุณย์ชนะ ภู่ระหงษ์ อาจารย์ประจำภาควิชาคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ร่วมเป็นกรรมการตัดสินแทน และนายทนงศักดิ์ เพ็ชรแก้ว ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เชนจ์ เอ็กซ์ตร้า จำกัด ประธานโครงการและที่ปรึกษาด้านนวัตกรรมเพื่อธุรกิจสมัยใหม่